ระบบการจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศ – กรอบความรู้ที่ 16 – 20

กุมภาพันธ์ 18, 2009

กรอบความรู้ที่ 16 – 20

กรอบที่ 16

เฉลยกรอบที่ 15

เนื้อหา


เลขหมู่ และผู้แต่งซ้ำกัน หมายความว่า หนังสือที่มีเลขหมู่ซ้ำกันและผู้แต่งคนเดียวกัน

หลักเกณฑ์และวิธีการจัดเรียงหนังสือบนชั้น (2)

5. หนังสือชื่อเรื่องเดียวกัน มีหลายฉบับ เรียงลำดับฉบับ หรือ Copy

6. หนังสือชุด (Volume) เรียงลำดับตามเล่ม

— คำถาม

หนังสือชุด (Volume) เป็นอย่างไร

.

กรอบที่ 17

เฉลยกรอบที่ 16

เนื้อหา

หนังสือชุด (Volume) คือ หนังสือที่ประกอบด้วยหนังสือหลายเล่ม มีเนื้อหาเป็นเรื่องเดียวกัน หรือประเภทเดียวกัน แต่สาระของเนื้อหาแยกกล่าวต่างกันออกไป เช่นหนังสือชุด The Venture of Islam: conscience and history in a world civilization ของ Marshall G.S. Hodgson

Volume 1 วิเคราะห์ถึงโลกทั่วไปก่อนที่จะมีศาสนาอิสลาม สิ่งท้าทายของศาสดา, การประสูติของพระมูหมัด และรัฐมุสลิมในยุคแรกเริ่ม คือ ระหว่าง ค.ศ.652 – 692

Volume 2 ศึกษาเกี่ยวกับประวัติของอารยธรรมอิสลามที่เป็นสากล จนถึงประมาณ ค.ศ. 1500

Volume 3 การฟื้นฟูของ

อารยธรรมอิสลามครั้งที่ 2

หลักเกณฑ์และวิธีการจัดเรียงหนังสือบนชั้น (3)

7. หนังสือที่ใช้สัญลักษณ์แทนเลขหมู่ ได้แก่ นวนิยาย เรื่องสั้น หนังสืออ่านเยาวชน ให้เรียงตามลำดับตัวอักษรของชื่อผู้แต่งจากซ้ายไปขวา

8. หนังสือที่มีสัญลักษณ์พิเศษเพิ่มเติมไว้เหนือเลขหมู่ ได้แก่ หนังสืออ้างอิง แบบเรียน คู่มือ ให้เรียงตามหมู่ จากน้อยไปหามาก

— คำถาม

หนังสือที่มีสัญลักษณ์พิเศษเพิ่มเติมไว้เหนือเลขหมู่ หมายความว่าอย่างไร

.

กรอบที่ 18

เฉลยกรอบที่ 17

เนื้อหา


หนังสือที่มีสัญลักษณ์พิเศษเพิ่มเติมไว้เหนือเลขหมู่ หมายความว่า หนังสือเล่มนั้นเป็นหนังสืออ้างอิง หรือหนังสือแบบเรียน หรือหนังสือคู่มือ หนังสือประเภทนี้ นอกเหนือ ไปจากการใช้อักษรย่อของประเภทหนังสือแล้ว ยังมีเลขหมู่ของหนังสือที่บอกเนื้อหาของหนังสือเพิ่มเติมอีกด้วย เช่น

500

ก175ว

หมายถึง หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสืออ้างอิงในหมวดวิทยาศาสตร์

การจัดเก็บวารสาร

มีวิธีการดังนี้

  • วารสารปัจจุบัน จัดเก็บบนชั้นเอียง เรียงตามลำดับ

ตัวอักษรของชื่อวารสาร จากซ้ายไปขวา จากบนลงล่างตามลำดับ มีป้ายชื่อวารสารติดไว้ที่ชั้นวารสารเพื่อให้เกิด

ความสะดวกในการเก็บเข้าที่

  • วารสารล่วงเวลาไม่เกิน 1 ปี จัดวางไว้ที่ชั้นวารสาร

ล่วงเวลา จัดเรียงตามลำดับตัวอักษรของชื่อวารสาร

  • วารสารล่วงเวลาเกิน 1 ปี เย็บรวมเล่ม จัดให้บริการ

โดยเรียงลำดับตัวอักษรชื่อวารสารและทำดรรชนีวารสารเพื่อค้นหาบทความและเรื่องราวในวารสาร

การเก็บวารสารล่วงเวลาที่เย็บเล่ม เรียงลำดับตามตัวอักษร

— คำถาม เรียงวารสารต่อไปนี้เพื่อการจัดเก็บ

แม่โจ้ สินแพทย์ สารคดี ฉลาดซื้อ กุลสตรี

ขวัญเรือน แพรว

.

กรอบที่ 19

เฉลยกรอบที่ 18

เนื้อหา

เรียงวารสารเพื่อการจัดเก็บตามลำดับตัวอักษรได้ ดังนี้

กุลสตรี ขวัญเรือน ฉลาดซื้อ

แพรว แม่โจ้ สารคดี

สินแพทย์

การจัดเก็บหนังสือพิมพ์

มีวิธีการดังนี้

1.หนังสือพิมพ์ฉบับปัจจุบัน จัดเก็บโดยใส่ไม้แขวนวางไว้บริการที่ชั้นวางหนังสือพิมพ์

2.หนังสือพิมพ์ฉบับเก่าของแต่ละวัน เก็บไว้ที่ชั้นวางหนังสือพิมพ์ฉบับล่วงเวลา จัดเรียงไว้ตามลำดับอักษรชื่อหนังสือพิมพ์

3. หนังสือพิมพ์ที่เก่าเกิน 1 เดือน คัดเลือกบทความที่มีประโยชน์หรือน่าสนใจ และจัดเป็นทำกฤตภาค

— คำถาม

แท่นอ่านหนังสือพิมพ์เป็นที่สำหรับจัดเก็บหนังสือพิมพ์หรือไม่

.

กรอบที่ 20

เฉลยกรอบที่ 19

เนื้อหา

แท่นอ่านหนังสือพิมพ์จัดเป็นที่จัดเก็บหนังสือพิมพ์ฉบับปัจจุบัน

การจัดเก็บโสตทัศนวัสดุ

มีวิธีการดังนี้

1. จัดที่สำหรับเก็บโสตทัศนวัสดุ โดยแยกต่างหากจากหนังสือ

2. จัดเก็บโสตทัศนวัสดุแยกแต่ละประเภท

3. ให้หมวดหมู่เช่นเดียวกันกับหนังสือ (000 – 900) และ

เรียงลำดับตามหมวดหมู่หนังสือ

การจัดเก็บวัสดุอิเล็กทอนิกส์

มีวิธีการดังนี้

1. จัดที่สำหรับเก็บวัสดุอิเล็กทรอนิกส์ โดยแยกต่างหากจาก

หนังสือ

2. จัดเก็บวัสดุอิเล็กทรอนิกส์แยกแต่ละประเภท

3. ให้หมวดหมู่เช่นเดียวกันกับหนังสือ (000 – 900) และ

เรียงลำดับตามหมวดหมู่หนังสือ

— คำถาม

เมื่อผู้ใช้ต้องการใช้วัสดุประเภทโสตทัศนวัสดุหรือวัสดุอิเล็กทรอนิกส์ สามารถเลือกหยิบเองได้อย่างอิสระหรือไม่

(อ่านคำเฉลยท้ายกรอบเลยนะจ๊ะ)

.

.

เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน – หลังเรียน

เรื่อง ระบบการจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศ

ข้อ

ตอบ

ขอชมเชย ถ้าเฉลย ตรงหนูคิด

หากคิดผิด คิดไม่ถูก ดูเฉลย

หวังว่าหนู ได้ความรู้ มากมายเลย

ครูขอเอ่ย คำบ๊ายบาย สวัสดี


1

2

2

2

3

4

4

3

5

2

6

4

7

4

8

3

9

3

10

3

.

.


ระบบการจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศ – กรอบความรู้ที่ 11 – 15

กุมภาพันธ์ 18, 2009

กรอบความรู้ที่ 11 – 15

กรอบที่ 11

เฉลยกรอบที่ 10

เนื้อหา

ภาษาไทยเพื่อการสืบค้น อยู่ในหมวด 400 ภาษาศาสตร์ (Language)

เศรษฐศาสตร์จุลภาค อยู่ในหมวด 300 สังคมศาสตร์

(Social sciences)

อาหารไทยสี่ภาค อยู่ในหมวด 600 วิทยาศาสตร์ประยุกต์ หรือเทคโนโลยี (Technology)  

ดนตรีไทย อยู่ในหมวด700 ศิลปะและการบันเทิง (Arts and recreation)

การใช้ตัวอักษรร่วมกับเลขหมู่หรือแทนเลขหมู่ (1)

หนังสือบางประเภทอาจใช้สัญลักษณ์อย่างอื่นแทนหมวดหนังสือ เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บ การค้นหา และประหยัดเวลา ดังนี้

1. หนังสืออ้างอิง (Reference) ใช้ตัวอักษร แทนหนังสือ

อ้างอิงภาษาไทย และใช้ตัวอักษร “R” แทนหนังสืออ้างอิงภาษาอังกฤษ

2. หนังสือแบบเรียน และหนังสือคู่มือ ใช้ตัวอักษร ย่อมาจาก แบบเรียน และใช้ตัวอักษร ย่อมาจาก คู่มือ

3. หนังสือสำหรับเด็ก ใช้ตัวอักษร ย่อมาจาก เยาวชน หรือตัวอักษร “J” ย่อมาจาก “Juvenile” แทนหนังสือเยาวชนภาษาอังกฤษ

— คำถาม

หนังสือเรื่อง เอมิลยอดนักสืบ ต้องใช้ตัวอักษรย่อว่า ย หรือ J

.

กรอบที่ 12

เฉลยกรอบที่ 11

เนื้อหา

หนังสือเรื่อง

เอมิลยอดนักสืบต้องใช้ตัวอักษรย่อว่า เพราะเป็นหนังสืออ่านสำหรับเยาวชนที่แปลมาเป็นภาษาไทยแล้ว แต่ถ้าหากยังเป็นภาษาอังกฤษอยู่จึงจะใช้อักษรย่อว่า J

การใช้ตัวอักษรร่วมกับเลขหมู่หรือแทนเลขหมู่ (2)

  • นวนิยายไทย

ใช้อักษรย่อว่า หรือ นว(ย่อมาจาก นวนิยาย)

  • นวนิยายภาษาอังกฤษ

ใช้อักษรย่อว่า “F” (ย่อมาจาก Fiction)

  • เรื่องสั้นไทย

ใช้อักษรย่อว่า ร.ส. (ย่อมาจาก เรื่องสั้น)

  • เรื่องสั้นภาษาอังกฤษ

ใช้อักษรย่อว่า “S.C.” (ย่อมาจาก Short Story Collection)

— คำถาม

หนังสือต่อไปนี้ต้องใช้อักษรย่อว่าอะไร

เจ้าหงิญ ข้างหลังภาพ เดอะ ดาวินชี่ โค้ด

.

กรอบที่ 13

เฉลยกรอบที่ 12

เนื้อหา

เจ้าหงิญ ใช้อักษรย่อว่า

“ร.ส.”

ข้างหลังภาพ ใช้อักษรย่อว่า

“น หรือ นว”

เดอะ ดาวินชี่ โค้ด ใช้อักษรย่อว่า

“F”

เลขเรียกหนังสือ (Call Number)

เลขเรียกหนังสือ หมายถึง ตัวเลขจำนวนหนึ่งที่กำหนดให้หนังสือแต่ละเล่ม เพื่อช่วยให้ทราบตำแหน่งที่อยู่ของหนังสือเล่มนั้นในห้องสมุด ซึ่งประกอบด้วย

  • เลขหมู่หนังสือ
  • อักษรตัวแรกของชื่อผู้แต่ง และเลขผู้แต่ง
  • อักษรตัวแรกของชื่อหนังสือ

— คำถาม

การจัดเรียงหนังสือบนชั้นพิจารณาส่วนใดของหนังสือเป็นลำดับแรก ระหว่าง ชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง และเลขหมู่หนังสือ

.

.

กรอบที่ 14

เฉลยกรอบที่ 13

เนื้อหา

การจัดเรียงหนังสือบนชั้นพิจารณา เลขหมู่หนังสือ เป็นลำดับแรก

การจัดเรียงหนังสือบนชั้น

การจัดเรียงหนังสือบนชั้น หมายถึง การนำหนังสือขึ้นชั้นให้ถูกต้องตามหมวดหมู่ และถูกต้องตามวิธีการจัดเรียงหนังสือบนชั้น เพื่อให้สามารถค้นหาหนังสือได้สะดวก รวดเร็ว และทำให้หนังสือบนชั้นมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยน่าศึกษาค้นคว้า

— คำถาม

ขั้นตอนทั่วไปของการจัดเรียงหนังสือบนชั้นทำอย่างไร

.

กรอบที่ 15

เฉลยกรอบที่ 14

เนื้อหา

ขั้นตอนทั่วไปของการจัดเรียงหนังสือบนชั้น คือ

· แยกหนังสือภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ

· แยกประเภทของหนังสือ

หลักเกณฑ์และวิธีการจัดเรียงหนังสือบนชั้น (1)

1.เรียงตามลำดับเลขเรียกหนังสือ คือเรียงจากเลขหมู่น้อยไปหามาก เรียงจากซ้ายไปขวา ชั้นบนลงชั้นล่าง โดยดูจากเลขเรียกหนังสือที่สันหนังสือ

2.เลขหมู่ซ้ำกัน เรียงตามลำดับอักษรผู้แต่ง

3.เลขหมู่และอักษรชื่อผู้แต่งซ้ำกัน เรียงลำดับเลขผู้แต่ง

4. เลขหมู่และผู้แต่งซ้ำกัน เรียงตามลำดับอักษรชื่อเรื่อง

— คำถาม

เลขหมู่และผู้แต่งซ้ำกัน หมายความว่าอย่างไร

.

.